Skip to content

My Favorite

My Favorite is empty

Article: AP Chronicles Series EP.5: หน้าปัดนาฬิกา AP Royal Oak ของแท้

AP Chronicles Series EP.5: หน้าปัดนาฬิกา AP Royal Oak ของแท้

AP Chronicles Series EP.5: หน้าปัดนาฬิกา AP Royal Oak ของแท้

เดินทางมาถึงอีกหนึ่งบทความภายใต้ซีรีส์ "การเดินทางของนาฬิกา AP" กับการย้อนรอยนาฬิกา AP รุ่นยอดนิยมในแวดวงมือสอง ด้วยประวัติ Royal Oak เรือนเวลาซิกเนเจอร์ หนึ่งในรหัสความงามอันสำคัญตั้งแต่คอลเล็กชันในปี 1972 กับลวดลายหน้าปัดที่ตกแต่งด้วย Petite Tapisserie

นับเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์อันงดงามที่ผู้หลงใหลในเรือนเวลาต่างยกให้เป็นการออกแบบที่ประณีตมากที่สุดเรือนหนึ่ง ซึ่งในบทความนี้ได้รวบรวมเทคนิคและการนำเสนอดีไซน์เรือนเวลาขั้นสูงของนาฬิกา AP ของแท้ ตั้งแต่รูปแบบตั้งต้น จนมาถึง Grande Tapisserie ในปี 1999 เรือนเวลาอันสมบูรณ์แบบที่ได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย

กว่าจะมาเป็นหน้าปัดของนาฬิกา Audemars Piguet

ประมาณปี 1900 นี่คือตัวอย่างของการตกแต่งนาฬิกาด้วยเทคนิค Guilloché ซึ่งมีการทำสำเนา ลวดลายดอกไม้สไตล์อาร์ตนูโวที่ถูกแกะสลักด้วยเครื่องจักรบางส่วน ตามหลักการที่ก่อให้เกิดเทคนิค Tapsserie ในปี 1972 (E. Jaquet และ A. Chapuis, ประวัติและเทคนิคของนาฬิกาสวิส ปี 1945, 1945, Plate no. 130)

Guilloché Copying Machine: ต้นกำเนิดสู่หน้าปัด Tapisserie ของ AP Royal Oak

Guilloché Copying Machine หรือ ‘เครื่องถ่ายเอกสารกิโยเช่’ ต้นกำเนิดแห่งประวัติศาสตร์หน้า Tappisserie ของนาฬิกา Audemars Piguet รุ่น Royal Oak เครื่องถ่ายทอดการออกแบบงานแกะสลักเทคนิคชั้นสูงที่มีชะตากรรมเกี่ยวข้องกันตั้งแต่จุดกำเนิด

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อราว ๆ ปี 1875 ในเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ช่างนาฬิกาอย่าง La Chaux-de-Fonds ห่างจากเมือง Vallée de Joux และ Le Brassus ประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งแต่เดิมถือเป็นที่ตั้งเวิร์กช็อปนาฬิกาทำมือของ Audemars Piguet แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความเจริญรุ่งเรืองได้เดินทางมาถึง La Chaux-de-Fonds จากเมืองเล็ก ๆ ที่เป็นเพียงชุมชนช่างนาฬิกาก็ได้กลายเป็นมหานครแห่งเรือนเวลาขนาดใหญ่ จนหนังสือ Capital ของนักวิชาการชาวเยอรมันอย่างคาร์ล มาร์กซ์ ต้องบัญญัติเอาไว้เลยว่าที่แห่งนี้คือ “เมืองแห่งอุตสาหกรรมเวลา” เพราะคุณจะสามารถพบการเวิร์กช็อปได้ทุกประเภทในที่แห่งนี้นั่นเอง

และเมื่อเดินทางมาสู่ช่วงท้ายของปี 1890 ความรุ่งเรืองของนาฬิกาพกกลับฉุดไม่อยู่ เมื่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ช่างฝีมือก็ไม่อาจดิ้นรนต่อสู้กับการลงสลักด้วยมือได้อีกต่อไป และเพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น Robert-Alfred Lienhard จึงได้ผลิตเครื่อง Guilloché Copying Machine ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1895 ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้าของเครื่องที่จะใช้ในการผลิตหน้าปัด Royal Oak โดยมีจุดเด่นด้านความซับซ้อนในการลงงาน เนื่องจากสามารถตกแต่งได้ทุกพื้นที่ของส่วนโค้งนาฬิกาพก

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจไม่ใช่การเริ่มต้นที่ดีนัก เนื่องจากช่างแกะสลักฝีมือส่วนหนึ่งที่เกิดลุกฮือ เพราะไม่พอใจที่ถูกรุกรานการประกอบอาชีพเนื่องจากการแข่งขันกับเครื่องทุ่นแรงสมัยใหม่ แต่ในที่สุด พวกเขาก็ต้องถูกบีบให้ต้องละทิ้งในวิถีการสร้างสรรค์งานแบบดั้งเดิม มาสู่การใช้เครื่องจักรให้ได้ลองสิ่งใหม่ ๆ แต่นั่นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้บทบาทช่างแกะสลักถูกทำลายลง เพราะตัวต้นเรื่องที่แท้จริงนั้นคือการมาถึงของ “ยุคแห่งนาฬิกาข้อมือ” ในช่วงปีที่ 1920 และ 1930 ต่างหาก

ด้วยเหตุนี้ บริษัทของนายทุน Lienhard จึงต้องคิดค้นสิ่งใหม่ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการระลอกใหญ่ที่น่าตื่นตาตื่นใจในแวดวงเรือนเวลา ด้วยการสร้างเครื่องสลักแบบเรียบง่ายแต่มีฟังก์ชันอเนกประสงค์ที่ครบครัน พร้อมตอบสนองสู่การผลิตที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในพื้นที่นอกอุตสาหกรรมนาฬิกา โดยเครื่องจักรจำนวนมากถูกนำส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่บางส่วนก็ยังคงอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์และถูกส่งไปยังบริษัท La Nationale ในเจนีวา กรุงแห่งการผลิตนาฬิกาแทน

เครื่องแกะสลักลายกิโยเช่ทำนาฬิกา AP Royal Oak ของแท้

เครื่องจักรแกะสลัก Lienhard Guilloché ผลิตขึ้นระหว่างปี 1950 และ 1976 โดยบริษัท Lienhard และ Guedel ซึ่งทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใน La Chaux-de-Fonds นี่ถือเป็นเครื่องแกะสลักลายกิโยเช่หลายสิบเครื่องที่ถูกใช้ในโรงงานหลายแห่งในประเทศแถบมหาสมุทรแอตแลนติก ก่อนที่จะเข้าร่วมกับแบนด์นาฬิกา Audemars Piguet ในปี 2010 โดยนำมาแกะสลักแบบ Guilloché ให้กับหน้าปัดนาฬิกา AP Royal Oak ของแท้รุ่นคลาสสิก

การผสมผสานทักษะงานฝีมือสู่เทคนิค Tapisserie

กว่าจะมาเป็นหน้าปัด Tappiserie ที่นักสะสมนาฬิกา AP ขวนขวายหามือสองสภาพดี ราคาสูงก็ไม่เกี่ยงกันนั้น ได้ถูกผ่านการผสมผสานจากหลากหลายทักษะการออกแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการแกะสลัก งานกิโยเช่ และงานวาดภาพประกอบ โดยศิลปะความอ่อนช้อยที่ดูเหมือนจะเก่าแก่และสร้างมูลค่าให้มากที่สุด ก็เห็นจะเป็นการแกะสลัก ซึ่งถือกำเนิดมาแล้วหลายพันปี ควบคู่ไปกับประติมากรรมและจิตรกรรม โดยมีความ ‘อดทน’ เป็นแกนหลักในการรังสรรค์ผลงาน

ในส่วนของการผลิตนาฬิกา ศิลปะนี้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 16 และใช้ในการตกแต่งนาฬิกาตั้งโต๊ะ จี้ และอื่น ๆ อีกมากมาย และยังคงดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนาฬิกา Audemars Piguet เพราะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวแบบ Openworked ตุ้มน้ำหนักและหน้าปัดที่ปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบต่าง ๆ

เครื่องกลึงลาย กว่าจะมาเป็นหน้าปัดนาฬิกา Audemars Piguet

ยกตัวอย่างเครื่องกลึงเลียนแบบของซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ในปี 1718 เช่นเดียวกับเครื่องกลึงกิโยเช่ (เครื่องกลึงกุหลาบ) ที่ผลิตโดย François Houard สำหรับ Max Emmanuel แห่งบาวาเรียในปี 1712 ด้วยเครื่องจักรเหล่านี้ ช่างฝีมือจะแกะสลักลวดลายอันประณีตขึ้นมา เพื่อสร้างเอฟเฟกต์อันน่าทึ่ง

และตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ในฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ เทคนิค Guilloché ก็ได้เริ่มนำมาใช้กับกลไกและนำไปใช้กับตัวเรือนนาฬิกาพกโดยเฉพาะ ซึ่งลวดลายต่าง ๆ จะถูก "ตั้งโปรแกรม" ไว้ให้เครื่องจักรจดจำและสร้างการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเล็ก ๆ จนกลายเป็นลวดลายที่กำหนด Abraham-Louis Breguet ช่วยทำให้ศิลปะแขนงนี้เป็นที่นิยมในแวดวงการผลิตนาฬิกามากยิ่งขึ้น โดยประดับประดาผลงานสร้างสรรค์ของเขาด้วยลวดลาย Hobnail Clous de Paris, ข้าวบาร์เลย์ หรือลวดลายสานตะกร้านั่นเอง

อีกหนึ่งเทคนิคการทำ Tapisserie คือการคัดลอก โดย Illustrated Professional Dictionary of Horology ได้อธิบายเอาไว้ว่า "เป็นเครื่องมือสำหรับการคัดลอกภาพวาดด้วยกลไก บางครั้งก็ขยายหรือลดขนาด" โดยใช้แขนประกบและใช้รูปแบบ (เรียกอีกอย่างว่าเมทริกซ์/แบบจำลอง) Musée International d'Horlogerie ใน La Chaux-de-Fonds มีตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของหน้าปัดที่มีสคริปต์คัดลอกขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เครื่องคัดลอกยังใช้โดย Vacheron Constantin ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1840 เป็นต้นมา เพื่อผลิตชิ้นส่วนขนาดเล็กที่มีความแม่นยำมากจนไม่จำเป็นต้องสัมผัสด้วยมืออีกต่อไป ดังนั้น จึงได้รับการออกแบบให้สามารถใช้แทนกันได้

สรุปได้ว่ารูปแบบ Tapisserie คือการผสมผสานเทคนิคทั้งสามนี้เข้าด้วยกัน ทั้งการแกะสลัก ที่จะทำให้วัสดุเป็นโพรงด้วยบุริน, งานกิโยเช่ที่ใช้เครื่องกลึงแบบกลไก และเช่นเดียวกันกับการคัดลอกข้อมูล เพราะมันจะจำลองการขึ้นงานตามรูปแบบ (เมทริกซ์หรือแบบจำลอง) โดยการปรับเปลี่ยนไปตามขนาดของชิ้นงาน ซึ่งทั้งหมดนี้รวมกันก็จะทำให้ได้ผลงานการรังสรรค์หน้าปัดนาฬิกา Audemars Piguet ที่เลอค่าเหนือคำบรรยาย

การกำเนิด Grande Tapisserie ความประณีตที่ทันสมัยกว่าเดิม

อีกครั้งที่เกิดการสร้างรูปแบบ Tapisserie ใหม่ที่ใจกว้างมากขึ้น ทั้งดูสวยงาม ประณีต และครอบคลุมมากกว่า แม้ว่าเทคนิคการผลิตจะยังคงเหมือนเดิม แต่ฐานของปิรามิดที่ถูกตัดจะมีขนาดใหญ่ขึ้นถึงสองเท่า ส่งผลให้จำนวนพีระมิดลดลงอย่างมาก หน้าปัดนาฬิกา AP Royal Oak "Jumbo" ของแท้ จึงมีลวดลายพีระมิดที่ลดลงจากเดิมที่อยู่ระหว่างจำนวน 680 ถึง 740 แต่ในรูปแบบ Grande Tapisserie ใหม่จะมีเพียง 380 เท่านั้น

ในปี 1999 หลังจากแบรนด์ภักดีต่อ Basel Fair มานานกว่าครึ่งศตวรรษ พวกเขาก็ได้นำเสนอนาฬิกา Audemars Piguet รุ่นใหม่เป็นครั้งแรกที่งาน SIHH Salon International de la Haute Horlogerie ในเจนีวา โดยเริ่มสร้างขึ้นในปี 1991 โดยนาฬิการุ่นใหมุ่ถึง 2 รุ่นที่มีลวดลาย Grande Tapisserie ได้แก่ Royal Oak Annual Calendar 25920 และ Royal Oak Time for the Trees 15100 ซึ่งวางขายแบบจำกัดเพียงจำนวน 450 เรือน เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ดำเนินการโดยมูลนิธิ Audemars Piguet. นอกจากนี้ รุ่น 14790 ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น "นาฬิกา Audemars Piguet รุ่นคลาสสิกในคอลเลกชัน" ที่มีการออกแบบด้วยเทคนิค Grande Tapisserie

ซึ่งในหลาย ๆ ปีต่อมา ลาย Petite Tapisserie ก็เริ่มหายไปจากนาฬิกา Audemars Piguet คอลเลคชัน Royal Oak ตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม การหายไปครั้งนี้ยังคงห่างไกลจากคำเปรียบเปรยที่บอกว่านี่คือลมหายใจสุดท้าย เพราะในที่สุด Petite Tapisserie ก็ได้กลับมาอีกครั้งในปี 2012 เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีของ Royal Oak ด้วยรุ่น 15202 ซึ่งนี่ก็ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งรุ่นของนาฬิกา AP ที่นักสะสมมือสองตามหากันไม่น้อย

ซื้อนาฬิกา AP ของแท้ ต้องที่ Pixiu Watch

เรื่องราวของการเดินทางบนเทคนิคดีไซน์ที่เรียกว่า Tapisserie ยังไม่จบลงแต่เพียงเท่านี้ คุณสามารถติดตามวิวัฒนาการสู่หน้าปัดดีไซน์ล่าสุดของเทคนิคดังกล่าวได้ในบทความถัดไป แต่สำหรับใครที่ยุติความหลงใหลอยู่ที่นาฬิกา AP Royal Oak Jumbo ที่ Pixiu Watch เรามีขายในราคาที่คุณอาจคาดไม่ถึง เพราะที่นี่เราคือศูนย์รวมนาฬิกาแบรนด์เนมมือสองที่ผ่านการคัดสรร และตรวจสอบมาอย่างดี เพื่อให้คุณได้ครอบครองเรือนเวลาอันล้ำค่าได้ในราคาที่เหมาะสม พร้อมช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำด้านการซื้อ-ขายอย่างมืออาชีพ พร้อมต้อนรับคุณเข้าสู่คอมมิวนิตีของนักสะสมแห่งเรือนเวลาอย่างจริงใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 096-939-9292 (โอ๊ต) ทุกวันและเวลา

 

แหล่งอ้างอิง

  1. Royal Oak Guillochage Tapisserie History. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 จาก https://apchronicles.audemarspiguet.com/en/article/guillochage-tapisserie

Read more

อุปกรณ์นักประดาน้ำที่เป็นแรงบันดาลใจของนาฬิกา AP

AP Chronicles Series EP. 4: ตัวเรือนของนาฬิกา AP Royal Oak

จากบทความที่แล้ว เชื่อว่าทุกคนคงได้ประจักษ์ความพิถีพิถันในการรังสรรค์ตัวเรือนนาฬิกา AP Royal Oak กันไปแล้ว แต่เรื่องราวยังคงมีต่อ และติดตามได้ในบทความนี้

Read more
AP Chronicles Series EP. 6: รายละเอียดบนตัวเรือนนาฬิกา AP

AP Chronicles Series EP. 6: รายละเอียดบนตัวเรือนนาฬิกา AP

จากบทความที่แล้ว ฉากแห่งการรังสรรค์ตัวเรือนนาฬิกา AP Royal Oak เรือนแรกช่างน่าอัศจรรย์ แต่ยังไม่จบเพียงเท่านั้น ติดตามต่อในบทความนี้ได้เลย

Read more
MAKE AN OFFER
MAKE AN OFFER
MAKE AN OFFER