AP Chronicles Series EP.1 ไขรหัสตัวเลขที่ซ่อนอยู่ใน Serial Number ของนาฬิกา AP

เริ่มต้นซีรีส์การเดินทางของเรือนเวลาจากแบรนด์คลาสสิกระดับโลกอย่างนาฬิกา AP หรือ Audemars Piguet พร้อมพาไขรหัสลับของ Serial Number ตัวเลขที่ถูกสลักเอาไว้บนตัวเรือนนาฬิกาถึง 2 ตำแหน่ง โดยอ้างอิงจากเอกสารของช่างฝีมือระดับตำนานของแบรนด์อย่าง Le Brassus ติดตามเรื่องราวการถอดรหัสตัวเลขที่เป็นมากกว่าการระบุตัวตน พร้อมพาย้อนรอยประวัติศาสตร์เรือนเวลาจากบ้าน Audemars Piguet นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ได้ที่บทความนี้

ความเป็นมาของระบบ Serial Number นาฬิกา AP

ย้อนรอย Serial Number ในนาฬิกา AP

Audemars Piguet หรือแบรนด์นาฬิกา AP ความงดงามของเรือนเวลาที่เน้นการออกแบบให้สามารถใช้งานได้นานนับทศวรรษ ในขณะที่บางรุ่นก็สามารถอยู่ได้นานนับร้อยปี และบ่อยครั้งที่เรือนเวลาเหล่านั้น มักจะถูกนำกลับขึ้นแท่นซ่อมแซมโดยช่างฝีมือคนอื่น ๆ ที่มีอะไหล่และประสบการณ์เฉพาะตัว หรือแม้กระทั่งการเสี่ยงที่จะเปิดฝาหลังตัวเรือน เพื่อทำการซ่อมแซมด้วยมือของนักสะสมมืออาชีพ!

ซึ่งทาง Audemars Piguet ก็ได้เล็งเห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่เรือนเวลาเหล่านั้นได้ออกเดินทางจากแหล่งผลิตชิ้นงานไปสู่เจ้าของที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้นาฬิกา AP จึงได้เริ่มทำการระบุตัวเลข เพื่อสลักอัตลักษณ์ที่ชัดเจนเอาไว้บนตัวเรือน เผื่อเอาไว้ว่า วันใดวันหนึ่งในอนาคตข้างหน้า ผู้ผลิตจะได้มีโอกาสพบเจอกับผลงานที่ตัวเองเป็นคนรังสรรค์ พร้อมปรับโมเดลที่ถูกแก้ไขเหล่านั้น ให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อย่างถูกต้อง

เส้นทางของเลขประจำตัวเรือนสู่ Serial Number

ในยุคแรก ๆ ของหน้าประวัตศาสตร์นาฬิกา AP ตัวเลขที่ระบุเอาไว้นั้น ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ภายใน โดยจะเป็นวิธีที่จะช่วยจำแนกนาฬิกา ให้ระบุการซ่อมแซมได้ตามโมเดลที่ถูกต้อง และแม้ว่าจะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คนนอกจะเข้าใจถึงชุดรหัสดังกล่าว แต่กลุ่มนักสะสมและช่างฝีมือเองก็ให้ความสนใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และได้มีการสันนิษฐานกันเอาไว้ว่ารหัสเหล่านี้ อาจเป็นพยานถึงประวัติศาสตร์ ต้นกำเนิดของนาฬิกา AP รวมไปถึงอะไหล่และกลไกของนาฬิกาแต่ละรุ่นที่ถูกออกแบบผลิตมาในช่วงเวลานั้น ๆ โดยทะเบียนของ Serial Number ยุคบุกเบิกจะเริ่มเก็บไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1882 และดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน ให้ผู้ที่หลงใหลในการสะสมนาฬิกา AP มือสอง ได้ดำดิ่งไปกับวิวัฒนาการเรือนเวลาของแท้ที่หาตัวจับได้ยาก!

สรุปความสำคัญของ Serial Number ในนาฬิกา AP

  • บอกปีที่ผลิตของเรือนนาฬิกา และแหล่งการผลิตได้อย่างชัดเจน
    ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถติดตามนาฬิกาในระหว่างขั้นตอนการผลิตได้
    ยืนยันตัวตนว่าเป็นนาฬิกา AP ของแท้ พร้อมระบุรายละเอียดผ่านตัวเลขได้อย่างแท้จริง

Movement Number ก้าวแรกของพัฒนาการหมายเลขนาฬิกา

Movement Number ในนาฬิกา AP คืออะไร

Movement Number หรือชุดรหัสระบุกลไกของนาฬิกา AP ได้ถูกสลักเอาไว้ครั้งแรกตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 และแต่ละชิ้นส่วนจะมีหมายเลขเฉพาะอยู่บนแผ่นฐาน หรือส่วนเชื่อมของกลไก โดยหมายเลขเหล่านี้จะถูกจัดเก็บเอาในทะเบียนการผลิต (Registre d'Établissage)

  • หมายเลข 3824 ตรงกับนาฬิกาพกพาแบบกลไกคู่ที่วางขายในปี 1890 และได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้วว่าเป็นหนึ่งในนาฬิกา AP จาก Audemars Piguet Heritage Collection
  • หมายเลข 30674 ตรงกับนาฬิกาที่มีกลไก Minute Repeater พร้อมฆ้องขัดเงา และสะพานคดเคี้ยวที่ตกแต่งด้วยเพชร Côtes de Genève 29 วางขายปี 1925 ใน Pre-Model 198 Audemars Piguet Heritage, inv. 1227

Movement Number และลำดับการผลิต

เริ่มต้นกันที่หมายเลขกลไก (Movement Number) ที่ถูกระบุเอาไว้ตามลำดับการผลิต โดยนักประวัติศาสตร์เรือนเวลาได้อนุมานกันเอาไว้ว่าการผลิตทั้งหมดของนาฬิกา AP นั้น สอดคล้องกับหมายเลขกลไกที่มีอันดับสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาหมายเลข 30828 (1924) ควรจะเป็นเรือนที่ 30,828 ที่ผลิตโดย Audemars Piguet แม้ว่าในความเป็นจริง ตามการผลิตในปี 1924 ควรจะมีจำนวนจำกัด และสิ้นสุดอยู่ที่ 30,000 เรือนก็ตาม


อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา จะพบว่ากำหนดหมายเลขตามการเคลื่อนไหวนั้นเริ่มจะทำได้ยากและจางหายไปอย่างช้า ๆ ด้วยจำนวนการผลิตตั้งแต่เริ่มจนปัจจุบันที่ใกล้จะถึงหนึ่งล้านครั้งในปี 2020 ส่งผลให้ทางบริษัทได้กำหนดกลไกของหมายเลขใหม่อีกครั้ง ด้วยการใช้ระบบตัวเลขประกอบตัวอักษรภาษาอังกฤษจำนวนสองตัว ก่อนจะตามด้วยชุดตัวเลขสี่หลัก ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ AA0001 ไปจนถึง AA9999 ก่อนจะเริ่มต้นกันใหม่ที่ AB0001 นั่นเอง


โดยการประมาณช่วงเวลาที่เรือนนาฬิกา Audemars Piguet แต่ละรุ่นได้วางจำหน่ายครั้งแรกนั้น จะขึ้นอยู่กับหมายเลขกลไกที่ระบุเอาไว้ สำหรับนักสะสมที่มีความสนใจ อยากตามหานาฬิกา AP มือสองที่เป็นของแท้ สามารถใช้ตารางเทียบเวลาและรหัสตัวเลขกลไกด้านล่างนี้ เพื่อใช้ประกอบการประเมินและพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ

ความต่างที่เกิดขึ้นใน Big Case Number

Big Case Number เริ่มเกิดขึ้นในช่วงปี 1951 โดยจะแยกตัวออกมาจากหมายเลขกำกับการเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นถึงซีรีส์ตัวเรือนที่ผลิตและถูกจับคู่อย่างอิสระกับกลไกของนาฬิกา AP ซึ่งหมายเลขที่ถูกกำหนด เริ่มตั้งแต่ตัวเรือนของนาฬิกาที่มีกลไก 54651 ด้วยหมายเลข 101 หลังจากนั้นชุดตัวเลขจะถูกรันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปตามลำดับ

โดยตัวเลขเหล่านี้ถูกเรียกว่า Case Registers ในภายหลัง เมื่อตัวเลขเริ่มเข้าใกล้จำนวน 100,000 ทางบริษัทก็ได้ตัดสินใจปรับปรุงระบบชุดตัวเลขอีกครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการสลักลงบนตัวเรือน โดยใช้หลักการนำตัวอักษรภาษาอังกฤษมาผสมกับตัวเลขอีกครั้ง และเริ่มต้นด้วยตัวอักษร B

ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือโครโนกราฟแบบ Openworked ที่ผลิตในปี 1981 พร้อมการแกะสลักตัวเรือน B61720 โดยใช้ร่วมกับหมายเลขการเคลื่อนไหวที่ระบุว่าเป็นกลไก 244108 จะถูกรันไปจนสิ้นสุดที่ B99999 หลังจากนั้นจึงจะเริ่มต้นด้วย D1 นับเป็นซีรีส์ใหม่ และให้ง่ายต่อการระบุระยะเวลา และรายละเอียดโดยประมาณของผลิตภัณฑ์ลงบนตัวเรือน

Years

From

To

1880*-1889

2000

4500

1890-1899

4000

6500

1900-1909

6000

14000

1910-1919

11000

27000

1920-1929

23000

42000

1930-1939

41000

45000

1940-1949

44000

60000

1950-1959

55000

80000

1960-1969

72000

120000

1970-1979

110000

230000

1980-1989

220000

350000

1990-1999

330000

490000

2000-2009

475000

750000

2010-2017

700000

999999

ความไม่แม่นยำของช่วงเวลา บันไดสู่ Big Case Number

ถึงแม้ว่าหมายเลขกลไกนาฬิกา AP จะสามารถเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อประมาณช่วงเวลาในการผลิต (ตามตารางที่ให้ก่อนหน้านี้) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความแม่นยำ ด้วยการจัดลำดับที่ผ่านการลงทะเบียนข้อมูลมาแบบไม่ต่อเนื่อง ปัญหาช่องว่างของกลไกบางอย่างที่ถูกเก็บไว้นานนับหลายปี ก่อนที่จะเสร็จสมบูรณ์และวางจำหน่าย รวมไปถึงการบรรจุที่ถูกทำซ้ำใหม่หลายครั้งในลักษณะที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดความซับซ้อนของข้อมูลเวลา ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกาข้อมือ Minute Repeater หมายเลข 8712 ที่ปรากฏในหน้า 73 ของหนังสือ Audemars Piguet 20th Century Complexed Wrists ถูกขายในปี 1951 แต่ถ้ายึดตาม Calibre แล้ว ต้องอยู่ในปี 1886


ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดระบบ Big Case Number ขึ้นมา เพื่อทลายข้อจำกัดในการจำแนกนาฬิกา AP ตาม Movement Number พร้อมระบุให้เห็นถึงซีรีส์ตัวเรือนที่มีการจับคู่กลไกอย่างอิสระ สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องราวของตัวเลขบนนาฬิกา Audemars Piguet ได้ในบทความถัดไป

มองหานาฬิกา AP ของแท้ มีเลขซีเรียลของจริง ต้องที่ Pixiu Watch

หลังจากทำความเข้าใจกับเบื้องลึกเบื้องหลังของระบบ Serial Number ที่แฝงเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ภายใต้เรือนเวลาจาก Audemars Piguet เอาไว้มากมาย มาถึงตรงนี้ หากนักสะสมท่านใดอยากจะครอบครองนาฬิกา AP มือสองที่เป็นของแท้ ราคาดี อย่าลืมนึก Pixiu Watch ร้านขายนาฬิกาแบรนด์เนมมือสองมากประสบการณ์ ที่นี่เรารวบรวมทุกเรือนเวลาอันล้ำค่า รอให้คุณเข้ามาค้นหาเสน่ห์ และรับไปครอบครอง!

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 096-939-9292 (โอ๊ต) ทุกวันและเวลา

 

แหล่งอ้างอิง

  1. Audemars Piguet Heritage team. Le Brassus. AUDEMARS PIGUET WATCH NUMBERING. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 จาก  https://apchronicles.audemarspiguet.com/en/article/audemars-piguet-watch-numbering