AP Chronicles Series EP.2 การเปลี่ยนแปลงรับยุคสมัยของระบบตัวเลขนาฬิกา AP
จากครั้งก่อนที่เราได้หยิบยกเรื่องราวการเดินทางของนาฬิกา AP ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเมื่อ 147 ปีก่อนที่ Audemars Piguet ได้จารึกนามลงบนประวัติศาสตร์แห่งโลกเวลา ณ หมู่บ้าน Le Brassus เมือง Vallée de Joux ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งถึงตอน ค.ศ. 1951 เกิดระบบ Big Case Number ขึ้นมา เพื่อทลายข้อจำกัดในการจำแนกนาฬิกา AP ตาม Movement Number พร้อมระบุให้เห็นถึงซีรีส์ตัวเรือนที่มีการจับคู่กลไกอย่างอิสระ
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการเดินทางของระบบ Serial Number ของนาฬิกา AP ยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น ตรงกันข้ามกลับเกิดการเปลี่ยงแปลงครั้งแล้วครั้งเล่ากว่าที่จะมาถึงปัจจุบัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งต่างก็มีรายละเอียดน่าสนใจ ติดตามต่อได้เลยในบทความนี้
เจาะลึกระบบ Big Case Number
นาฬิกา AP ทุกเรือนมีหมายเลขสลักอยู่บนตัวเรือน ณ บริเวณด้านหลังหรือด้านใน หรือบางเรือนก็ทั้งสองตำแหน่ง ซึ่งจากนี้ไปเราจะเรียกหมายเลขนี้ว่า Big Case Number (ตรงข้ามกับหมายเลข Royal Oak ขนาดเล็ก) เป็นเวลาเกือบ 75 ปีที่ Big Case Number กำหนดอัตลักษณ์ของ Audemars Piguet Royal Oak เนื่องจากนาฬิกาแต่ละเรือนเปี่ยมด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัว กลไกการทำงานถูกสร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ
ในช่วงต้นทศวรรษ 1950 ขณะที่โลกตะวันตกเข้าสู่ช่วงยุคแห่งการเฟื่องฟูที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่นาฬิกา AP ได้พัฒนากระบวนการผลิตให้ทันสมัย และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงก็คือ การริเริ่มระบบ Big Case Number ทำให้จากนี้เป็นต้นไปนักสะสมสามารถซื้อนาฬิกา AP ที่ไม่ต้องผูกติดกับหมายเลขกลไก (Movement Number) อีกต่อไป
ด้วยเหตุนี้ ทำให้นับตั้งแต่ปี 1951 เป็นต้นมา ตัวเรือนของนาฬิกาที่มีกลไก 54651 จึงมีหมายเลข 101 สลักอยู่ จากนั้นหมายเลขตัวเรือนจึงถูกกำหนดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น 102, 103 เป็นต้น โดยผู้ผลิตเรียกการจดบันทึกแบบนี้ว่า Case Registers จนกระทั่งล่วงสู่ ค.ศ.1975-1976 เมื่อจำนวนที่จดบันทึกเริ่มเข้าใกล้หลักแสน นาฬิกา AP จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งด้วยการตัดสินใจปรับปรุงระบบเลขโดยเพิ่มตัวอักษรเข้าไปตรงตำแหน่งหน้าตัวเลข เริ่มต้นด้วยตัวอักษร B เนื่องจาก 100,000 แรกแม้ว่าจะไม่มีตัวอักษร แต่ก็ถูกตีความให้อยู่ในหมวด A ไปโดยปริยาย
ระบบ Big Case Number ถูกใช้อย่างยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงปี 2017 และหมวดตัวอักษร K ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ระบบตัวเลขตัวอักษรแบบสุ่ม โดยไม่เรียงลำดับอีกต่อไป ดังนั้นเรียกได้ว่าระบบนี้เดินทางคู่กับ Audemars Piguet Royal Oak มาเกือบ 7 ทศวรรษ
สามารถทำความเข้าใจระบบ Big Case Number ได้ตามตารางด้านล่าง
Large case numbers |
|||
From |
To |
Start |
End Approx. |
101 |
105393 |
1951 |
1976 |
B 1 |
B 99999 |
1975 |
1990 |
C 1 |
C 99999 |
1984 |
1995 |
D 1 |
D 99999 |
1991 |
2000 |
E 1 |
E 99999 |
1998 |
2010 |
F 1 |
F 99999 |
2003 |
2010 |
G 1 |
G 99999 |
2009 |
2015 |
H 1 |
H 99999 |
2011 |
2015 |
I 1 |
I 99999 |
2013 |
2020 |
J 1 |
J 94000 |
2015 |
2020 |
หมายเลขรุ่น (Model Number)
อีกหนึ่งเรื่องที่นักสะสมนาฬิกา AP ควรทราบคือความเป็นมาของหมายเลขรุ่น (Model Number) ซึ่งก็ต้องย้อนเวลากลับไปสู่ ค.ศ.1951 อีกครั้ง โดยเริ่มจากช่างฝีมือของ Audemars Piguet Royal Oak มีความคิดที่จะสร้างนาฬิกาสองเรือนที่เหมือนกันทุกประการ ดังนั้นนาฬิกาแต่ละเรือนจึงได้รับการอธิบายแยกกันในสมุดบันทึกปกแข็งขนาดเล็กที่เรียกว่า Registers of Completed Watch (Registres des Montres Complètes)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเฟื่องฟูหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและการขยายการจำหน่ายทำให้จำเป็นต้องทบทวนวิธีการทำงานดังกล่าว และทาง Audemars Piguet ก็ลงมติตัดสินใจผลิตนาฬิกาที่เหมือนกันในซีรีส์ขนาดเล็ก การปฏิวัติครั้งนี้มาพร้อมกับการนำเสนอแนวคิดของนาฬิการุ่นดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องใหม่อย่างมาก
ด้วยเหตุนี้หมายเลขรุ่น จึงตอบโจทย์ด้านการเพิ่มยอดขายเป็นอย่างมาก นับเป็นครั้งแรกที่ลูกค้าของ Audemars Piguet สามารถสั่งซื้อรุ่นเดียวกันได้หลายเรือน! บวกกับการประชาสัมพันธ์ผ่านแคตตาล็อก และสื่อส่งเสริมการขายอื่น ๆ ทางแบรนด์จึงสามารถติดต่อกับลูกค้าปลายทางได้โดยตรง
การปฏิวัติที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์
คงเป็นเรื่องผิดหากจะมองว่าการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบ Big Case Number หรือ หมายเลขรุ่นจะทำให้นาฬิกา AP สามารถพบเห็นได้อย่างเกลื่อนกลาด เนื่องจากในความเป็นจริงทุกเรือนยังคงเป็นงานผลิตด้วยมืออย่างประณีต ซีรีส์ยังคงมีอยู่อย่างจำกัด โดยทั่วไปจะผลิตเป็นชุดๆ ละ 10 ถึง 20 เคส หรือน้อยกว่านั้น อีกทั้ง Audemars Piguet Royal Oak ยังคงผลิตคาลิเบอร์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น ในปี 1951 มีการผลิตนาฬิกาที่มีคาลิเบอร์ที่แตกต่างกันอย่างน้อย 15 แบบสำหรับการขายนาฬิกาประมาณ 900 เรือน
ดังนั้น ด้วยแนวคิดนี้ทำให้ Audemars Piguet Royal Oak จึงโดดเด่นกว่านาฬิกาแบรนด์อื่น ๆ ในยุคนั้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงเข้าสู่เชิงอุตสาหกรรมโดยสิ้นเชิง แตกต่างกับ นาฬิกา AP ที่หมายเลขรุ่นกำหนดเฉพาะรูปร่างและขนาดของตัวเรือนเท่านั้น
กำเนิดคำศัพท์ใหม่ในแวดวงนักสะสม
ด้วยการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งหลายหนของระบบ Serial Number ที่ใช้กับนาฬิกา AP ทำให้นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา Audemars Piguet Royal Oak ได้กำหนดหมวดหมู่ตามหมายเลขรุ่น ความซับซ้อน และประเภทของเรือนเวลา ดังต่อไปนี้
- N° 4000 to 4999: Men's watches, metal bracelet
- N° 5000 to 5499: Older models for men
- N° 5500 to 5599: Complicated watches (pocket watches and wristwatches)
- N° 5600 to 5799: Pocket watches
- N° 5800 to 5999: Older models for ladies
- N° 6000 to 6999: Quartz watches
- N° 7000 to 7999: Ladies' mechanical watches, leather strap
-
N° 8000 to 9999: Ladies' mechanical watches, metal bracelet
รหัสอ้างอิง 5 หลัก
ในปี 1970 การผลิตนาฬิกา AP ได้รับการวางโครงสร้างเพิ่มเติม ชัดเจนที่สุดคือการจัดตั้งแผนกเทคนิคทำให้นับจากนั้นเป็นต้นมา ในทะเบียนการผลิตและในแคตตาล็อกบางรายการ การอ้างอิงในส่วนของสายนาฬิกาก็ถูกเพิ่มเข้ามา โดยความหมายของแต่ละตัวอักษรมีดังต่อไปนี้ "ST" หมายถึง Steel "BA" หมายถึง Yellow Gold "BC" หมายถึง White Gold และ "SA" หมายถึงเหล็กผสมกับทอง ตัวอย่างเช่น 5002BA หมายความว่านาฬิกา 5002 เป็น Yellow Gold ระบบนี้ถูกใช้งานจนถึงศตวรรษที่ 21
Audemars Piguet ยังคงยึดถือว่าต่อให้เป็นซีรีส์ขนาดเล็กที่นาฬิกา AP ราคาถูกกว่า ก็ต้องประดิษฐ์ด้วยมือ หรือแม้แต่สำหรับการผลิตครั้งเดียว Audemars Piguet ยังคงสร้างโมเดลหลายร้อยรุ่นด้วย จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ชัดเจนว่าด้วยการอ้างอิง 4 หลักไม่เพียงพอกับจำนวนการผลิตอีกต่อไป เหตุนี้ Jacques-Louis Audemars และ Georges Golay ซึ่งบริหารบริษัทอยู่ในขณะนั้นจึงตัดสินใจเพิ่มการอ้างอิงเป็น 5 หลัก ดังนั้น 5402 จึงกลายเป็น 25402, 8638 กลายเป็น 78638 เป็นต้น
รหัส 5 หลักนี้ใช้เป็นฐานในการขยายและปรับปรุงหมายเลขรุ่นนาฬิกา AP ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2000 เป็นต้นมา จะค่อย ๆ ให้รหัสเพิ่มเติมโดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการประดับอัญมณี การตกแต่ง หัวเข็มขัด/ตัวล็อก สายนาฬิกา วัสดุ และหน้าปัด
ตาราง Case Material
Code |
Material |
Code |
Material |
AA |
Green gold |
OK |
Pink gold / Rubber |
AC |
Yellow gold / White gold |
OL |
Pink gold / Tantalum |
AG |
Silver |
OM |
Pink gold / Cermet |
AE |
Alacrite |
OR |
Pink gold |
AI |
Alacrite / Titanium |
OS |
Forged carbon / Steel |
AK |
Yellow gold / Rubber |
PA |
Platinum / Yellow gold |
AL |
Aluminium |
PO |
Platinum / Ceramic |
AP |
Yellow gold / Platinum |
PM |
Platinum / Cermet |
AR |
Yellow gold / Pink gold |
PR |
Platinum / Pink gold |
AU |
From 3 materials |
PT |
Platinum |
BA |
Yellow gold |
RA |
Pink gold / Yellow gold |
BC |
White gold |
RC |
Pink gold / White gold |
CA |
White gold / yellow gold |
RO |
Pink gold / ceramic |
CB |
White ceramic |
RP |
Pink gold / platinum |
CE |
Black ceramic |
SA |
Steel / yellow gold |
CK |
White gold / rubber |
SB |
Blue PVD-treated steel |
CN |
White gold / ceramic |
SC |
Blue PVD-treated steel |
CR |
White gold / pink gold |
SK |
Steel / rubber |
FC |
Carbon fibres |
SN |
Black PVD-treated steel |
FO |
Forged carbon / ceramic |
SO |
Steel / carbon |
FR |
Carbon / Pink gold |
SP |
Steel / Platinum |
FS |
Carbon / Steel |
SR |
Steel / Pink gold |
IA |
Titanium / Yellow gold |
ST |
Steel |
IB |
Titanium / Blue PVD-treated steel |
TA |
Tantalum / Yellow gold |
IC |
Titanium / White gold |
TI |
Titanium |
IK |
Titanium / Rubber |
TK |
Tantalum / Rubber |
IO |
Titanium / Ceramic |
TL |
Tantalum |
IM |
Titanium / Cermet |
TP |
Tantalum / Platinum |
IP |
Titanium / Platinum |
TR |
Tantalum / Pink gold |
IR |
Titanium / Pink gold |
TS |
Steel / Tantalum |
IS |
Titanium / Steel |
TT |
Tantalum / Steel |
LT |
Brass |
ZI |
White diamond / Blue sapphire setting |
OI |
Pink gold / Titanium |
ZO |
White diamond / Onyx Setting |
OF |
Pink gold / Forged carbon |
|
|
หมายเลข Small Royal Oak
Audemars Piguet Royal Oak 5402ST เปิดตัวในปี 1972 และเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนการปฏิวัติในโลกการผลิตนาฬิกา ด้วยการออกแบบ การผสมผสานความสปอร์ตเข้ากับเรือนเวลาได้อย่างลงตัว พลิกรหัสของ Haute Horlogerie ให้มีขนาดเล็กลง อีกทั้งยังเปลี่ยนระบบตัวเลขของนาฬิกา Audemars Piguet เพื่อแสดงถึงความหายากและทรงคุณค่า ทางแบรนด์จึงตัดสินใจแนะนำ หมายเลข Small Royal Oak หรือหมายเลขตัวเรือนขนาดเล็ก ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะเรือน
อธิบายให้เข้าใจโดยง่าย หมายเลขตัวเรือนใหญ่จะย้ายเข้าไปด้านในตัวเรือน หลีกทางให้กับหมายเลข Small Royal Oak ที่ประกอบด้วยตัวอักษรตามด้วยตัวเลข ระบบนี้ระบุหมายเลขแต่ละรุ่นตั้งแต่ A1 ถึง A2000 จากนั้น B1000 ถึง B2000 เป็นต้น ตั้งแต่ปี 1976 ถึงสิ้นปี 2010
ซื้อนาฬิกา AP ของแท้ ราคาดี ต้องที่ Pixiu Watch
ดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์ที่เล่าขานได้อย่างไม่รู้จบ พร้อมด้วยเสน่ห์ของเรือนเวลาที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานความวิจิตรงดงามของ นาฬิกา AP กันไปแล้ว ถึงตรงนี้ หากท่านใดอยากได้นาฬิกา AP ของแท้ ราคาดี ไปครอบครองสักหนึ่งเรือน ต้องที่ Pixiu Watch เราเป็นร้านขายนาฬิกาแบรนด์เนมมือสองที่รวบรวมทุกเรือนเวลาล้ำค่าเอาไว้ ให้คุณได้เข้ามาค้นหาเสน่ห์ที่ใช่กับนาฬิกาเรือนสวยที่ต้องการ พร้อมช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำการซื้อแบบมืออาชีพ ผู้เข้าใจในความหลงใหลของเหล่านักสะสมมาอย่างเนิ่นนาน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมกับเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 096-939-9292 (โอ๊ต) ทุกวันและเวลา
แหล่งอ้างอิง
- Audemars Piguet Heritage team. Le Brassus. AUDEMARS PIGUET WATCH NUMBERING. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 จาก https://apchronicles.audemarspiguet.com/en/article/audemars-piguet-watch-numbering