ตราสัญลักษณ์ : บนนาฬิกา ทอง บอกอะไรเรา ?

     การสร้างระบบตราประทับรับประกัน (HALLMARK) นี้ถูกนำมาใช้ในช่วงกลางปี ​​ค.ศ. 1920 โดยได้ควบคุมและดูแลการผลิตและรับรองโลหะล้ำค่าต่างๆในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ ก่อนปี 1934 ได้มีการจัดระบบการจัดการแยกเฉพาะในแต่ละรัฐ ซึ่งหลังจากปี 1934 ถึงได้มีการรวบรวมเข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นมาตราฐานทั่วทั้งประเทศ จนในปี 1995 ระบบตราสัญลักษณ์สวิตเซอร์แลนด์ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ ให้มีความสากลมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

หลาย ๆ คนอาจจะยังสงสัยว่า ตราประทับที่เห็นบนตัวเรือนนาฬิกาวัสดุประเภททอง หรือทองคำขาวนั้นมีตราประทับอะไรบ้าง และมีความหมายอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันดังนี้

HALLMARK_01

วัตถุที่มีการถูกค้าขายเชิงพาณิชย์ในสมัยก่อนมากที่สุดนั้นคือ เงิน และทอง ดังนั้นจึงต้องการรับประกันตัววัสดุจำพวกเงิน ทองคำ หรือทองคำขาว โดยการประทับตราแสมป์ (HALLMARK) เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียด ของโลหะ และเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือ ช่าง คำว่า "HALLMARK" ถูกเรียกกันตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โลหะที่มีค่าได้ถูกส่งไปยังLondon Goldsmiths' Hall เพื่อทำการทดสอบ ให้แน่ใจว่ามีการใช้วัสดุที่มีมาตรฐานที่ถูกต้อง Goldsmiths' Hall เป็นสำนักงานใหญ่ ของบริษัท Goldsmiths และ สำนักงานการทดสอบ ในบางประเทศการทดสอบวัตถุโลหะมีค่าและการทำเครื่องหมายรายละเอียด ถูกควบคุมโดยสำนักงานทดสอบระดับชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ การใช้เครื่องหมายรับรองคุณภาพอาจเป็นภาคบังคับ ภาคสมัครใจ หรือตามประกาศของผู้ผลิตอย่างเช่น ระบบการประทับตราสัญลักษณ์ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะเป็นภาคบังคับโดยมีการออกพระราชบัญญัติมาควบคุมโดยเฉพาะ

HALLMARK_02

นับตั้งแต่ปี 1995 ระบบตราสัญลักษณ์ (HALLMARK) ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะประกอบด้วย 3 อย่างหลัก ๆ คือ

1. (Official National Hallmark) ตราสัญลักษณ์แห่งชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนตามแต่ละประเทศกำหนด แต่ตราประจำประเทศ สวิสเซอร์แลนด์จะเป็น (หน้าสุนัขเซนต์เบอร์นาร์ด)
2. (Common Control Mark) เครื่องหมายนี้จะบอกความละเอียด หรือคุณภาพของโลหะรวมถึง ระบุประเภทของโลหะ รูปแบบของตราประทับนี้ได้เริ่มนำมาใช้ในปี 1999 และ แสดงให้เห็นถึงค่าของโลหะในหน่วยส่วนต่อพัน ซึ่งจะมีความละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • ทอง - 375, 585, 750, 916, 999
  • เงิน - 800, 925, 999
  • แพลตตินั่ม - 850, 900, 950, 999
  • แพลเลเดียม 500, 950 และ 999
3. (Responsibility Mark) (เรียกอีกอย่างว่าเครื่องหมายของผู้ผลิต) นี่คือเครื่องหมายจดทะเบียนของ บริษัท หรือบุคคลที่ส่งเพื่อทำการตราสัญลักษณ์ มันถูกสร้างขึ้นจากชื่อย่อของบุคคลหรือ บริษัทนั้นในรูปร่างหรือลักษณะตราประทับแตกต่างกันไป และต้องมีอย่างน้อยสองชื่อเริ่มต้น ทำให้แต่ละผู้ผลิตมีเอกลักษณ์ต่างกันออกไป
HALLMARK_03

ตราประจำชาติอย่างเป็นทางการนั้นยังมีความหมายละเอียดเพิ่มมากขึ้นซึ่งก็จะบอกทั้งขนาดของตราประทับ และสำนักงานที่ได้ทำการทดสอบอีกด้วย

ตราประทับรูป(หน้าสุนัขเซนต์เบอร์นาร์ด) มี 2 ขนาด คือ
1.) ขนาด กว้าง 2.00 mm. สูง 1.60 mm.
2.) ขนาด กว้าง 1.00 mm. สูง 0.80 mm.

ส่วนใหญ่ที่ประทับบนนาฬิกาที่ทำจากทองหรือทองคำขาว จะปรับทับขนาด กว้าง 1.00 mm. สูง 0.80 mm. และมีสัญลักษณ์ของสำนักงานทดสอบ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่มีเครื่องหมาย X

เครื่องหมายสำนักงานทดสอบ เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ตำแหน่ง "X" บริเวณบนหูของสุนัขเซนต์เบอร์นาร์ด ซึ่งจะบอกสำนักงานที่ได้ทำการทำสอบ
ดังต่อไปนี้

สถานที่ // สัญลักษณ์
Biel ,Bienne // B
Basel // *
Chiasso T
Geneva // G
La Chaux-de-Fonds // C
Lausanne // V
Le Locle // L
Le Noirmont // J
Neuchatel // N
Romanshorn // R
Schaffhausen // S
Zurich // Z

HALLMARK_04

(Common Control Mark) จะบอกความละเอียด หรือคุณภาพของโลหะรวมถึง ระบุประเภทของโลหะ รูปแบบของตราประทับนี้ได้เริ่มนำมาใช้ในปี 1999 และ แสดงให้เห็นถึงค่าของโลหะในหน่วยส่วนต่อพัน ซึ่งจะมีความละเอียดดังต่อไปนี้

  • - ทอง - 375, 585, 750, 916, 999
  • - เงิน - 800, 925, 999
  • - แพลตตินั่ม - 850, 900, 950, 999
  • - แพลเลเดียม - 500, 950 และ 999
HALLMARK_05

อร์แลนด์จะต้องมีเครื่องหมายความรับผิดชอบ (RM) ซึ่งจะต้องลงทะเบียนที่สำนักงานกลางเพื่อการควบคุมโลหะมีค่าในการผลิตให้ได้มาตราฐาน การลงทะเบียนปัจจุบันมีประมาณ 15,000 บริษัทที่ลงทะเบียนแล้วแต่ละบริษัทก็จะเครื่องเครื่องหมายตราประทับแตกต่างกันออกไ

HALLMARK_06

ตราประทับ หน้าสุนัขเซนต์เบอร์นาร์ด ซึ่งแน่นอนมากจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีการพิมพ์ตัวหนังสือเป็นตัว G อยู่บริเวณใบหูสุนัขนั้นแสดงว่า ได้ทำการทดสอบที่สำนักงานทดสอบในกรุง เจนีวา
สัญลักษณ์ตราชั่งมีเลข 750 นั้นหมายถึง เรือนนี้เป็นวัสดุทองคำ มีค่า 18 กะรัต

 

 

___________________________________
แหล่งอ้างอิง

: http://www.silvercollection.it/
: https://en.wikipedia.org/wiki/Hallmark
: https://www.assayofficelondon.co.uk/
: https://theassayoffice.com/