History of Rolex Serial Number

          "Serial Number" ของทาง Rolex ทุกคนจะสังเกตเห็นได้บริเวณ lugs หรือ บริเวณขอบด้านในหน้าปัด และฝาหลังนาฬิกาในรุ่นเก่า ซึ่งจะมีตัวเลขผสมกับตัวอักษร หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมจะซื้อ Rolex จะต้องมีคำถามเกี่ยวกับ Serial Number หรือ ซีรี่ส์ ทุกครั้งไป เราจะมาอธิบายหลักการความเป็นมาในการผลิต Serial Number ออกมา ให้ทราบกันครับ

History of Rolex Serial Number cover

          ปี 1927 เป็นปีที่ทาง Rolex ได้ประทับ Serial Number ลงไปบน Case ของ Rolex ที่ผลิตทุกชิ้นเป็นครั้งแรก มีการกล่าวกันว่า หมายเลขแรกไม่ได้เริ่มที่เลข 1 แต่เป็นหมายเลขประมาณ 20,000

History of Rolex Serial Number_01

          พอถึงปี 1953 ตัวเลข Serial ถึง 999,999 แทนที่ Rolex จะใช้หลักที่ 7 หรือหลักล้าน แต่กลับตัดสินใจกลับไปเริ่มต้นใหม่แทน แถมยังเป็นที่น่าสงสัย แทนที่จะเริ่มจาก 000001 หรือ 20,000 เหมือนเดิม Rolex ไปเริ่มต้นใหม่ที่ประมาณหลัก 10,000 หรืออาจจะน้อยกว่านั้นเล็กน้อย
          ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น (ประมาณปี 1953-1959) Rolex ก็ได้นำระบบปั๊มวันที่โดยการใช้เลขโรมันปั๊ม I,II,III,IV มาบ่งบอกไตรมาส (Quarter) และมีตัวเลข 2 หลัก ระบุเลขปี ค.ศ. ยกตัวอย่างเช่น III53 ก็คือนาฬิกาเรือนนั้นผลิตประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 1953

History of Rolex Serial Number_02

          ปี1960 ตัวเลข Serial มาถึงเลข 999,999 Rolex เลยตัดสินใจเข้าสู่หลักล้าน โดยเพิ่มตัวเลขหลักที่ 7 เข้าไป และใช้ต่ออีกหลายปี

History of Rolex Serial Number_03

          ปี1970 Rolex ได้เลิกใช้ระบบปั๊มตัวเลข Serial ลงบนฝาหลัง ซึ่งทางแบรนด์คงคิดได้ว่า การสลัก Serial Number ลงไปตรง Lug หรือ ขอบบนตัวเรือนที่มีสายบังอยู่ก็สามารถใช้ได้แล้ว แถมฝาหลังยังสามารถสลับกันได้อีก

History of Rolex Serial Number_04

          ปี 1987 เลข Serial number ก็ครบถึงเลข 9,999,999 แทนที่จะเริ่มด้วยตัวเลข 8 หลัก ทางRolex ได้เริ่มคำนำหน้าด้วยตัวอักษร A-Z แต่แทนที่จะเริ่มด้วย A ทางแบรนด์จึงเริ่มจากตัวอักษรชื่อแบรนด์ก่อนนั้นคือคำว่า ROLEX เช่น R จากนั้น L, E และ X (ROLEX ที่ใช้ตัวอักษร O เพราะมีความคล้ายเลข 0) หลังจากที่ไล่ตัวจนครบคำว่า ROLEX ทางแบรนด์ก็ต่อด้วย N,C,S,W,T,U,A,P,K,Y,F,D,Z,M,V,G ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าใช้หลักการอะไรนำมาใช้

History of Rolex Serial Number_05

          ปี 2010 Rolex ขายนาฬิกาได้ปีละล้านเรือน ตัวอักษรทั้งหมดจึงหมดลง Rolex ได้นำระบบ Random Series มาใช้ในช่วงปลายปี 2010 โดยมีหลักการคือ จัดชุดตัวอักษรทั้งหมด 8 หลัก แต่ละหลัก สามารถเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรภาษาอังกฤษก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น 5F28EDFK, 7876876F หรือแม้แต่ 99999999, AAAAAAAA ด้วยความหลากหลายของตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน 8 หลัก จะสามารถสร้างชุดตัวเลขที่แตกต่างกันได้ถึง 36 ยกกำลัง 8 (ตัวเลข 0-1 และตัวอักษร A-Z มาเรียงสลับกัน 8 ตัวไม่ซ้ำกัน) หรือประมาณ 2,821,109,907,456 รูปแบบ แต่ระบบนี้ Rolex จะไม่ใช่ O และ I เพราะมันจะทำให้สับสนกับเลข 0 และ 1 เลยเหลือแค่ 34 ยกกำลัง 8 แต่นั้นก็ยังเหลืออีกตั้ง 1,785,793,904,896 แบบให้ใช้อยู่ดี เรียกได้ว่า ต่อให้ Rolex ขายนาฬิกาได้ปีละล้านเรือนไปเรื่อย ๆ ก็ต้องใช้เวลาอีก 1.785 ล้านปี ตัวเลขชุดนี้ถึงจะถูกใช้หมด ข้อเสียของระบบนี้คือทำให้มูลค่าของนาฬิกาที่มีตัวเลข Serial ที่สัมพันธ์กับปีหมดไป

ตารางแสดง Serial Number ของแต่ละปี โดยประมาณ