Pixiu ชวนส่อง "ของจริง VS ของปลอม!!!” Omega Seamaster 007 No Time To Die
ด้วยการเติบโตของตลาดนาฬิกามือสองที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีนาฬิกาเลียนแบบหรือ “ของปลอม” มากขึ้นเช่นกัน แถมนับวันยิ่งทำเหมือนขึ้นจนแยกได้ยาก วันนี้จึงอยากแนะนำวิธีเช็คอย่างง่าย ด้วยเปรียบเทียบกับของจริง ใช้ความคุ้นตาหรือนำมาเปรียบเทียบตัวต่อตัว ซึ่ง วันนี้จะใช้ตัวอย่างของ Omega 007 No Time To Die ครับ
- กฎเหล็กจำให้ขึ้นใจครับ แบรนด์แท้ทั้งหลายสิ่งที่กินขาดของปลอมล้วนอยู่ที่งาน Finishing ที่เกิดจากงานฝีมือ, ใช้เวลามาก, และต้องประณีตตามข้อกำหนดต่างๆ ของโลกนาฬิกา
ส่วนวิธีที่ดีที่สุดอยู่ตอนสุดท้าย อยากรู้ไวเลื่อนไปอ่านได้ครับ จะได้ไม่ต้องมีอการยิ้มหวานกุมขมับไปตามๆ กัน
เริ่มจากแนวสันขอบเหลี่ยมต่างๆ
จุดตายแรกที่ของปลอมไม่ทำให้เท่าของจริงแน่นอน เพราะค่าใช้จ่ายสูงคือการเก็บงานบริเวณขอบสันต่างๆ การปาดเหลี่ยมที่ลายเส้นต้องคมชัด ไม่กลืนไปกับพื้นผิวตัวเรือน และจากในรูปสังเกตความสวยของเม็ดมะยมและวาล์วดูครับ จะต่างชัดเจน
ความต่อเนื่องของสันเหลี่ยมและโค้งเว้าคนละมิติ
การลบสันเพื่อเกิดมุมลาดเอียงหรือเทคนิค Beveled แบรนด์แท้จะมีแนวสันที่เรียบเป็นทรงกว่า และจะมีการขัดแต่งเพื่อให้เห็นแนวเด่นชัด ซึ่ง ของปลอมจะไม่ทำเพราะใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง
ขอบเบเซล
ของปลอมเรือนนี้ถือว่าเนี๊ยบมากในเรื่องการให้เฉดสีและยิงเลเซอร์ของสเกล แต่ถ้าใช้แสงตกกระทบดูการไล่เนื้อสีดู จะเห็นความแตกต่างที่ขอบด้านนอกสุดครับ และหากส่องด้วยลูป การเก็บสีในร่องสเกลจะไม่เรียบร้อยเท่าของจริง
หน้าปัดและเครื่องหน้า
จากรูปด้านบนจะเห็นสีพื้นหน้าปัดต่างกันชัดเจน เส้นลายขัดบนชุดเข็มที่ละเมียดกว่า ไม่ใช่เพียงเป็นเส้นคมชัดเท่านั้น พรายน้ำจากของแท้เนื้อจะเรียบเนียนคล้ายแป้งแต่งหน้า ไม่เป็นขุยแห้งเห็นเป็นเนื้อเม็ดๆ หรือในบริเวณที่ต้องหยอดให้ฟู ของปลอมจะไม่ค่อยทำเช่นกันครับ
ลายเส้นจากการขัดบนเข็มชัดเจน แต่ไม่ละเอียด เรียบเนียน
ผิวพรายน้ำดูแห้งเป็นฝุ่น ไม่เรียบเนียน
ฝาหลัง
การดูความคมชัดของงานเลเซอร์และอักษร สำหรับคู่นี้ดูยากครับ ของปลอมมาดีมาก แต่... พลาดเพราะ Omega ใช้การสลับสีระหว่างฟร้อนท์ เลยกลายเป็นเทียบง่ายไปซะอย่างนั้นครับ และตรา 007 เอง ถ้าเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็จะบอกเลยว่า ของปลอมไม่ใช่เอาซะเลย
สายถักไทเทเนียม
ดูจากด้านบนสาย ของปลอมเจ้านี้ต้องยกนิ้วครับ แยกยากมาก ต้องดูการเก็บงานสาย Mesh ซึ่งช่วงรอยต่อของบาร์และข้อลิงค์ฟ้องชัดเจน รวมทั้งงานเก็บพื้นผิว ลักษณ์ทรงของลิงค์ รวมถึงตัวจบงานปลายสาย ของปลอมไม่ใส่ใจเท่าจนเห็นได้ชัด แต่จุดเหล่านี้เอาเข้าจริงเป็นจุดที่มักมองข้ามกันครับ
ตัวจบปลายสายเรียบร้อย เรียบเนียน มีความหนาเท่ากัน ผิวลิงค์แต่ละเม็ดเรียบเนียน ไม่เป็นรอยบุ๋ม ขรุขระ ตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกาสวิสครับ
ตัวเครื่องและกลไก
ถ้าเปิดมาดูแค่ลายขัดและทับทิม อาจโดนหลอกได้เลย เพราะของปลอมเรือนนี้ใช้ทับทิมสีม่วงอมชมพู ตามมาตรฐานทับทิมในนาฬิกาแท้ ไม่ใช่สีออกแดงที่ของปลอมนิยมใช้กัน รหัสเครื่องก็ถูกต้อง จุดนี้เลยช่วยไม่ได้ในการแยกจริงปลอม แต่ถ้าพี่ๆ จำข้อสำคัญที่บอกข้างต้น งาน Finishing คือจุดตายครับ จะเห็นได้ชัดทั้งเรื่องคราบ, ความสะอาด, การเก็บรอยบากหัวสกรู ยังไม่ต้องรวมถึงอุปกรณ์บางตัวที่กลไกของแท้มี แต่ของปลอมไม่มี แค่ความประณีตของนาฬิกาสวิสก็พอจะกระตุกต่อมผิดสังเกตให้พี่ๆ แน่นอนครับ
เป็นยังไงบ้างครับ วิธีนี้ง่ายแต่ต้องมีของจริงเปรียบเทียบ หรือคุ้นตากับของจริงมากๆ แต่เป็นไปได้ยากในชีวิตจริง ดังนั้นการเปิดเช็คเครื่องกับผู้ให้บริการต่างๆ คือวิธีที่นิยมที่สุด เสียตังเพิ่มอีกนิดแต่สบายใจกว่า
หรือวิธีที่ง่ายที่สุด คือซื้อนาฬิกาจากผู้ขายที่มีตัวตนแน่นอน มีประวัติซื้อขายมานาน มีหน้าร้านยิ่งดีครับ เช่นเดียวกับ Pixiu Watch ที่มีนาฬิกาแบรนด์เนมระดับ Hi-end หลากหลายแบรนด์ คัดเลือกมาอย่างดี รับประกันความแท้แน่นอน มีบริการหลังการขาย ทั้งดูแล, รับซื้อทุกแบรนด์ให้ราคาสูง, หรือจะเทรดเราพร้อมให้บริการด้วยความเต็มใจ และเชื่อใจได้ครับ
- สามารถรับชมคลิปเปรียบเทียบ Omega 007 No Time To Die พร้อมรายละเอียดที่มากกว่านี้ได้จากโอ๊ต บน Youtube ได้แล้วตามลิงค์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=6vEk_KlQduc
และถ้าค้นด้วยชื่อ Pixiu Watch หรือ Pixiu Review จะมีคลิปสาระนาฬิกาดีๆ ข้อมูลถูกชัดเจนให้รับชมกันอีกมากมาย ขอให้สนุกและมีความสุขกับนาฬิกาเรือนโปรดครับ