12 กฎเหล็ก The Geneva Seal: มาตรฐานของการขายนาฬิกาแบรนด์เนม
จากบทความที่แล้ว เราได้พาคนรักนาฬิกาเพลิดเพลินไปกับประวัติความเป็นมาของ The Geneva Seal ตรารับรองทรงคุณค่าแห่งวงการนาฬิกาแบรนด์หรู วันนี้เราจะพาทุกคนเจาะลึกไปถึง 12 กฏเหล็กของ The Geneva Seal ที่กลายมาเป็นมาตรฐานของการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนมระดับ Hi-End ทั่วโลก หากนาฬิกาแบรนด์ใดที่ได้รับเครื่องหมายนี้ ก็ย่อมการันตีถึงคุณภาพอันเหนือชั้นได้อย่างไม่ต้องสงสัย
12 กฎเหล็ก The Geneva Seal
- งานฝีมือของส่วนประกอบเครื่อง รวมทั้งกลไกเพิ่มเติมต่าง ๆ จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกาของสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา โดยชิ้นส่วนที่เป็นโลหะต้องผ่านการขัดเงา ส่วนผิวหน้าที่สามารถมองเห็นได้จะต้องได้รับการขัดให้เรียบ หัวสกรูต้องผ่านการขัดจนขึ้นเงา และร่องสกรูต้องได้รับการขัดเกลาแต่งขอบ
- ชิ้นส่วนกลไกทั้งหมดในส่วนของชุดเกียร์ถ่ายกำลังและระบบปล่อยจักร ต้องติดตั้งทับทิมกันสึกหรอ โดยชิ้นทับทิมนั้นจะต้องได้รับการขัดแต่ง ในส่วนของสะพานจักร ทับทิมกันสึกต้องเคลือบแข็งครึ่งหนึ่งและขัดแต่งฐานรองรับทับทิมกันสึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน สำหรับส่วนฐานรองปลายทับทิมกันสึกไม่จำเป็นต้องขัดแต่ง
- ใยลานนาฬิกาควรยึดลงในร่องด้วยดุมที่มีหัวและบ่ากลม โดยอนุญาตให้ใช้ดุมแบบเลื่อนขยับได้
- ในการติดตั้งเข็มนาฬิกา จะต้องติดตั้งด้วยตัวยึดจับ ยกเว้นกลไกใดที่มีความบางเป็นพิเศษ ไม่ต้องใช้ระบบจับยึด
- ระบบควบคุมบาลานซ์ที่มีรอบการหมุนแบบรัศมีแปรผันนั้น อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด
- ล้อเฟืองต้องได้รับตกแต่งมุมทั้งด้านบนและด้านล่าง สำหรับเฟืองที่หนา 1.5 มิลลิเมตร หรือบางกว่า อนุญาตให้ขัดเงาสำหรับสะพานจักรเพียงด้านเดียว
- ในการประกอบชุดเฟืองจักร เช่น แกนเดือยหมุนและผิวหน้าเดือยหมุน ต้องเว้นพื้นที่สำหรับขัดเงา
- ระบบเฟืองต้องมีน้ำหนักเบาและหนาไม่เกิน 0.16 มิลลิเมตร สำหรับกลไกนาฬิกาขนาดใหญ่ต้องหนาไม่เกิน 0.13 มิลลิเมตร ส่วนกลไกนาฬิกาที่บางกว่า 0.18 มิลลิเมตร ผิวหน้าด้านล็อกต้องได้รับการขัดเงาด้วย
- กระเดื่องนาฬิกาจะต้องถูกควบคุมด้วยขอบกั้นแบบติดตั้งตายตัว เพื่อแยกหมุดสลักหรือดุมต่าง ๆ ออกจากกัน
- ชิ้นส่วนกลไกเคลื่อนไหวที่ต้องติดตั้งกับระบบรองรับแรงกระแทกนั้นสามารถใช้ได้
- ล้อเฟืองสับสปริงและเฟืองก้านมะยมต้องขัดแต่งให้ได้ตามรูปแบบที่ขึ้นทะเบียนไว้
- ไม่อนุญาตให้ใช้ลวดสปริง
ขั้นตอนการทดสอบก่อนมอบเครื่องหมาย The Geneva Seal
เพราะกลไกทุกชิ้นล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเรือนเวลาอันสมบูรณ์แบบ แม้แต่กลไกที่เล็กที่สุดหรือส่วนที่บอบบางที่สุดอย่างเข็มนาฬิกา ดังนั้นสำนักงานผู้ตรวจสอบแห่งเจนีวาจึงได้ร่วมมือกับ TIMELAB ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องบอกเวลา เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่านาฬิกาเรือนนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เฉพาะแค่รูปลักษณ์ภายนอกที่ดูสวยงามไร้ที่ติเพียงอย่างเดียว แน่นอนว่าการทดสอบนี้จะช่วยยกระดับการซื้อขายนาฬิกาแบรนด์เนมขึ้นไปอีกขั้น ให้ผู้ซื้อสามารถมั่นใจได้ว่าราคาที่จ่ายไปคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้ครอบครอง
การตรวจสอบของ TIMELAB นั้นประกอบด้วยขั้นตอนที่ละเอียดและพิถีพิถัน ตั้งแต่ความสามารถในการกันน้ำ, การบอกเวลา, การสำรองพลังงาน และฟังก์ชันการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของนาฬิกาแต่ละเรือน
ความสามารถในการกันน้ำ
ในการทดสอบความสามารถในการกันน้ำ นาฬิกาแต่ละเรือนจะถูกทดสอบตั้งแต่ระดับเริ่มต้นที่ 3 bar ซึ่งเป็นระดับที่สามารถสวมนาฬิกาในขณะที่ล้างมือหรืออยู่ท่ามกลางสายฝนได้ หากนาฬิกาเรือนใดที่ผู้ผลิตระบุว่าสามารถกันน้ำในระดับที่ลึกกว่า ก็จะได้รับการทดสอบเพิ่มเติมตามที่กล่าวอ้าง โดยนอกจากความสามารถในการกันน้ำแล้ว ยังต้องได้รับการทดสอบที่ความดันอากาศระดับ 0.5 bar เพื่อจำลองการสัญจรทางอากาศอีกด้วย
bar คือหน่วยวัดความดัน สำหรับนาฬิกาที่มีระบบกันน้ำ ระดับ 3 bar = 30 เมตร
|
แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วการขายนาฬิกาแบรนด์เนมนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีคุณสมบัติกันน้ำเพื่อที่จะได้รับเครื่องหมาย The Geneva Seal แต่หาก TIMELAB ทดสอบแล้วว่าไม่สามารถกันน้ำได้ ก็จะมีการระบุให้เห็นอย่างชัดเจนในใบรับรอง
ความสามารถในการบอกเวลา
ก่อนที่จะเริ่มต้นทดสอบความสามารถในการบอกเวลา แต่ละแบรนด์ต้องรับทราบว่านาฬิกาจะถูกทดสอบในสถานการณ์ที่หลากหลาย และถูกทดสอบมากกว่า 1 ครั้ง ในระยะเวลานานกว่า 7 วัน เพื่อดูว่าหากมีการนำไปสวมใส่จริงจะให้ผลลัพธ์อย่างไร ทำงานได้ดีหรือไม่ ซึ่งหากเป็นนาฬิกา Chronograph ก็จะถูกทดสอบให้จับเวลาอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากการบอกเวลาแล้ว หากนาฬิกาเรือนใดที่มีฟังก์ชันปฏิทิน ก็จะมีการตั้งค่าให้แสดงเวลาในปีอธิกสุรทิน หรือปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน เพื่อทดลองการแสดงผลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
ความสามารถในการสำรองพลังงาน
ขั้นตอนสุดท้ายของการทดสอบคือส่วนของการสำรองพลังงาน เพื่อดูว่านาฬิกาเรือนนั้นสามารถสำรองพลังงานได้ตามมาตรฐาน หรือสูงกว่าที่แต่ละแบรนด์ได้ระบุไว้หรือไม่ แน่นอนว่าหากเป็นนาฬิกา Chronograph ก็จะมีการทดสอบเพื่อดูว่าเมื่อจับเวลาอย่างต่อเนื่องแล้วจะใช้พลังงานไปทั้งหมดเท่าไหร่
การจารึกเครื่องหมายอันทรงเกียรติ
หลังจากผ่านการทดสอบอันละเอียดและยาวนานทั้งหมดนี้ หากเรือนเวลาใดที่ผ่านการทดสอบ ก็จะได้รับมอบใบรับรองและได้รับเครื่องหมาย The Geneva Seal อันทรงเกียรติเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพที่เหนือชั้น
แต่ใช่ว่าเครื่องหมายนี้จะปรากฏอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เพราะก่อนทำการจารึกจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้ผลิต ซึ่งหากเป็นไปได้ก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับ Serial Number นอกจากนี้ แต่ละแบรนด์จะต้องใช้กลไกที่ผ่านการรับรองจาก TIMELAB อีกด้วย
ก่อนหน้านี้ เครื่องหมาย The Geneva Seal จะถูกจารึกโดยการประทับตรา หรือแกะสลัก แต่ภายหลังในปี 2014 ได้เปลี่ยนไปใช้วิธีกัดกรดแทน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวเรือนจากการใช้เครื่องมือแกะสลัก แต่ในปัจจุบันนี้ มีการพัฒนากรรมวิธีการจารึกเพื่อป้องกันการลอกเลียนแบบและนำไปสู่การซื้อขายนาฬิกาที่ไม่ได้มาตรฐาน ด้วยการซ่อนตราสัญลักษณ์ The Geneva Seal ไว้ในจุดที่มีเพียงช่างฝีมือเท่านั้นที่สามารถมองเห็นได้
ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องราวของ 12 กฎเหล็ก The Geneva Seal ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจที่จะยกระดับวงการนาฬิกา Hi-End ให้เหนือไปอีกขั้นด้วยมาตรฐานระดับสูง ซึ่งหากใครสนใจต้องการเป็นเจ้าของนาฬิกาแบรนด์หรูที่ผ่านการรับรองด้วยเครื่องหมายอันทรงคุณค่านี้ Pixiu Watch คือร้านรับซื้อขายนาฬิกา Hi-End ที่รวบรวมเรือนเวลาอันงดงามไว้มากมาย เพื่อส่งมอบคุณค่าทางจิตใจให้แก่ผู้หลงใหลได้แลกเปลี่ยนและสะสม เรายินดีให้คำปรึกษาและคำแนะนำเรื่องเรือนเวลาจากหลากหลายแบรนด์ดัง เพื่อส่งมอบความงดงามให้แก่ผู้รักนาฬิกาทุกท่าน สามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 083-713-9292 (โอ๊ต) และ 081-535-3595 (ตี๋) ทุกวัน เวลา 7.00 - 24.00 น.